วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการสร้างblogให้ดังและทำรายได้ด้วยเทคนิคง่ายๆ



1. ใส่ใจกับรูปแบบดีไซน์ของ blog
ลองสังเกตดูง่าย ๆ ครับ สำหรับบล็อกชั้นนำของโลก ต่างก็ไม่ได้ใช้ template แจกฟรีที่มีกันทั่วไป แต่บล็อกชั้นนำเหล่านี้ ต่างก็ออกแบบดีไซน์ของบล็อกขึ้นมาเองทั้งหมด ทำให้บล็อกนั้นดูมีความแตกต่าง และมีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น
2. ใส่ใจกับเนื้อหาของบล็อก
ก่อนที่คุณจะสร้างบล็อกขึ้นมาซักแห่งหนึ่ง ลองวางแนวทาง ของเนื้อหาในบล็อกดูก่อนครับ ว่าเราต้องการจะนำเสนอบทความรูปแบบไหน เราจะมีวิธีนำเสนอไปในทางใด สิ่งเหล่านี้ จะทำให้คุณไม่หลุดประเด็น จากที่คุณตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกไงครับ เช่น บล็อกของ keng.com ต้องการจะเป็น บล็อกที่นำเสนอข้อมูลด้านการทำบล็อก ดังนั้นผมวางแนวทางไว้ว่า ต้องมีข่าวสารวงการบล็อกทั่วโลก มาให้ผู้อ่านได้อ่านกัน และยังต้องมีเทคนิคการทำบล็อกสำหรับมือใหม่ เช่นบทความเรื่อง “blog คืออะไร?” และมีเทคนิคสำหรับขั้นผู้เชี่ยวชาญ เช่นการใส่ Tag หรือการ Ping ไปยัง blog search engine เป็นต้น ตัวอย่างข้างต้น ดังเช่นตัวอย่างบทความ ที่ผมเขียนขึ้นมาเหล่านี้ เป็นแนวทาง ในการกำหนดทิศทางของบล็อกครับ
3. ใส่ใจผู้อ่าน มากกว่าใส่ใจตัวเอง
เนื้อหาของบล็อกเป็นสิ่งที่ผุ้อ่านใส่ใจใคร่รู้ ไม่ใช่ป้ายโฆษณาที่เราวางระเกะระกะในเว็บไซต์แต่อย่างใด ดังนั้นการจัดรูปแบบโฆษณา ต้องคำนึงถึงจิตใจผู้อ่านด้วยนะครับ ว่าถ้าเป็นเราเอง ไปอ่านบล็อกคนอื่น แล้วมีโฆษณามาเกะกะในตัวบทความ เราชอบหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว ถ้าบทความของเราเขียนได้ดี ผู้อ่านก็จะมาอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก และอาจมีผู้อ่านมากขึ้นทุก ๆ วัน หลังจากนั้นแล้ว รายได้จากค่าโฆษณาจะตามมาเอง โดยที่เราไม่ต้องไปใส่โฆษณา แทรกลงไปในตัวบทความอีกด้วย
4. ใส่ใจ comment ที่มีเข้ามา
บล็อกสามารถใช้ประโยชน์ของการสื่อสาร ได้ด้วยระบบ comment ในตัวเอง ซึ่งโปรแกรมสร้างบล็อก (ฺBlogware) ส่วนใหญ่ มีระบบ comment ติดมาให้ด้วยอยู่แล้ว ลองใช้ระบบนี้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน comment การตอบ comment ต่าง ๆ บางครั้งเราอาจได้ประโยชน์ จากการดึงประเด็นเด็ด ๆ จาก comment มาใช้เขียนบทความก็เป็นได้ ดังนั้น ทุก ๆ วันคุณควรที่จะตรวจสอบว่ามี comment ใดเข้ามาบ้าง เพื่อที่จะได้ตอบได้ทันท่วงที เมื่อเราตอบได้เร็ว ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมในการสื่อสาร ทั้งสองฝ่ายก็แฮปปี้ครับ และจุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าเราตรวจสอบ comment ทุกวัน เราสามารถลบพวก spam comment ออกได้อย่างทันควันไงครับ
5. ใส่ใจในมาตรฐานของเว็บไซต์
ไม่มีใครรู้ว่าบล็อกของเราจะมีคนเข้ามาอ่านมากแค่ไหน บางครั้งเราอาจต้องมีการปรับปรุงเว็บไซต์ หรือบางครั้งเราอาจต้องมีการปรับแต่งดีไซน์ เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างที่เราไม่คาดฝัน ลองมองไปถึงการดีไซน์บล็อกด้วย มาตรฐานของเว็บไซต์ (Web Standard) ซึ่งจะสามารถทำให้บล็อกของคุณ แสดงผลได้ดีในทุก ๆ browser และลองพยายามใช้ css ในทุก ๆ ส่วนที่คุณทำได้ เพราะตัว css นี้มีความยืดหยุ่นสูง ถ้าเราต้องมีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์ต่าง ๆ เราจะได้ปรับเฉพาะแค่ไฟล์ css แทนที่จะไปแก้ html ในแต่ละหน้า ลองนึกดูครับว่า ถ้าวันใดที่คุณมีบทความประมาณ 1,000 บทความ แต่คุณต้องมานั่งแก้สีของกรอบรูปภาพ ที่คุณเคยเขียนโค๊ดใส่ border เข้าไปที่โค๊ดของรูปภาพโดยตรง แทนที่จะแก้ไขที่ไฟล์ css แค่บรรทัดเดียว
6. จัดตารางเวลาในการเขียนให้เหมาะสม
เมื่อตอนเริ่มเขียนบล็อก คุณอาจใช้เวลาไม่มากนักในการเขียนบทความ แต่เมื่อคุณเขียนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี แน่นอนว่าคงต้องมีการกระทบกับเวลาการทำงานอื่น ๆ ของคุณเช่นกัน ดังนั้นลองจัดสรรเวลาสำหรับเขียนบล็อก อาจจะตื่นเช้าสักหน่อย ใช้เวลาในช่วงเช้าก่อนไปทำงาน เขียนบทความสักหนึ่งตอน หรือจะเขียนบทความในช่วงดึก ๆ ก่อนนอนก็ได้ ตรงนี้แล้วแต่คนนะครับ ว่าคุณสะดวกแบบไหน หรือมีเวลาว่างในตอนอื่น ๆ ลองปรับให้เหมาะสมกับตัวเองดูีครับ
7. ใส่ใจเรื่องขนาดของภาพประกอบบทความ
ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่งฉันท์ใด บล็อกย่อมงามเพราะดีไซน์และภาพประกอบ (มั่วจริง ๆ เลยผม) ลองทำความรู้จักกับรูปแบบของไฟล์ภาพชนิดต่าง ๆ ดูนะครับ เช่นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .gif นั้น สามารถแสดงผลได้สูงสุด 256 สี แต่ไฟล์ภาพที่เป็นนามสกุล .jpg นั้นสามารถแสดงผลได้สูงสุด 16 ล้านสี ดังนั้นการเลือกที่จะเซฟภาพเป็นไฟล์นามสกุลอะไรนั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะหากเลือกชนิดไฟล์ผิด ภาพที่ออกมาจะไม่สวย และไฟล์อาจมีขนาดใหญ่ผิดปกติ นั่นจะเป็นสิ่งทกินทรัพยากรของระบบ และบล็อกของคุณมากขึ้นไปอีก เพราะถ้ามีผู้อ่านเยอะ แต่ต้องรอโหลดภาพที่ใหญ่ผิดปกติ ผู้อ่านบางท่านอาจจะเลิกรอเลยครับ ผมขอแนะนำวิธีง่าย ๆ ในการเซฟภาพดังนี้ครับ หากเป็นภาพถ่าย แนะนำให้ใช้เป็น jpg ส่วนถ้าเป็นไฟล์โลโก้ หรือภาพที่มีจำนวนสีน้อย ๆ ลองดูเป็น gif นะครับ

ซื้อคอมมาใหม่เปิดแล้วใช้อะไรไม่ได้

ทำไมซื้อคอมมาใหม่เปิดแล้วใช้อะไรไม่ได้ทำไมซื้อคอมมาใหม่เปิดแล้วใช้อะไรไม่ได้มีแต่หน้าจอสีดำ - เจาะลึกการติดตั้ง Windows  ใหม่หรือที่เรียกกันว่าล้างเครื่องแบบ Step by Step(หน้าต่อหน้า) เน้นอธิบายให้เข้าใจมากกว่าท่องจำว่าจะกดอะไร ท่านจะสามารถล้างเครื่องได้ รายละเอียดเพิ่มเติด
                                                   
ทำความรู้จักกับ Partition ความหมาย ประโยชน์ และทำไมต้องจัดการแบ่ง Partition
เจาะลึกวิธีการแบ่งพื้นที่ให้กับ Hard Disk (แบ่ง Partition) ด้วยวิธีต่างๆอาทิเช่น
- การแบ่ง Partition ด้วยโปรแกรม Partition Magic
- การแบ่ง Partition ด้วยแผ่น Windows
- การแบ่ง Partition ด้วย Fdisk (คำสั่ง Dos) และ Disk Management
รายละเอียดเพิ่มเติด


กล้าได้กล้าเสีย - เรียนรู้ถึงวิธีการแกะและถอดอุปกรณ์ออกจากคอมพิวเตอร์ทุกชิ้นไม่มีเหลือเจาะลึกถึงวิธีการประกอบเครื่อง และเทคนิคการต่อสาย power , Reset ,ไฟแสดงสถานะต่างๆอย่างมั่นใจขจัดข้อสงสัย ตอบทุกคำถาม เจาะลึกทุกอาการเสียของคอมพิวเตอร์
รายละเอียดเพิ่มเติด

ซ่อมคอม,สอนซ่อมคอม,ซ่อมประกอบ,โดยทีมงานมืออาชีพ developer-training

หลายคนคงจะสงสัยว่าตอนที่เรายกคอมพิวเตอร์ไปซ่อมที่ร้านเขาทำอะไรกับเครื่องเราบ้าง
ไม่แน่ใจว่าโดนสับเปลี่ยนอะไหล่หรืออุปกรณ์ชิ้นไหนหรือเปล่า เพราะฉนัั้้ันจึงได้เกิดทีมผู้ที่จำทำให้ท่านรู้ทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับคอม และการซ่อมคอม


เรียนรู้ถึงวิธีการแช่แข็ง(ล็อก) Hard Disk ให้ปราศจากไวรัสและไฟล์ขยะ – ท่านจะรู้ว่าทำไมเวลาเข้าร้านเน็ตแล้วโหลดงานไว้ที่เครื่อง พอเครื่อง Restart แล้วงานหายไป
เรียนรู้วิธีการทำ System Restore  เพื่อ backup ระบบ เก็บไว้และเรียนรู้การ Restore เพื่อย้อยระบบกลับมาได้ รายละเอียดเพิ่มเติม

ทำไมช่างลง Windows แป๊บเดียวเราลงเป็น ชั่วโมง – รู้จักกับเทคนิคการ Ghost คืออะไรมีประโยชน์อย่างไรมันสำคัญด้วยหรือเจาะลึกเทคนิคการ Ghost (คัดลอก Windows) ด้วย Program Norton Ghost , และน้องใหม่ไฟแรงอย่าง Acronic True image ท่านจะลืมการลง Windows ไปเลย  รายละเอียดเพิ่มเติม

เจาะลึกวิธีการลงโปรแกรมแบบต่างๆ ท่านจะได้รู้วิธีการหา Crack เพื่อลงโปรแกรมแบบไม่มีวันหมดอายุทำอย่างไรเรียนรู้การส่งมอบเครื่องและการตีราคาค่าซ่อม เราให้มากกว่าการเป็นช่างทำไมคอมพิวเตอร์ถึงช้า -  วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์ช้าและแนวทาง
รายละเอียดเพิ่มเติม

ที่มา ทีมซ่อมประกอบคอมพิวเตอร์แบบมืออาชีพ developer-training.com